วันพฤหัสบดีที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2556

พื้นฐานทางอิเล็กทรอนิกส์และหลักการโครงสร้างของระบบฉีดเชื้อเพลิง แก๊สโซลีนควบคุมด้วยอิเล็กทรอนิกส์

1.2.6.2 ชนิดของระบบฉีดน้ำมันเชื้อเพลิง
  ระบบฉีดน้ำมันเชื้อเพลิงที่นำมาใช้ในรถยนต์นั่งทั่ว ๆ ไป  ในปัจจุบันจะมีอยู่ด้วยกัน 2 แบบใหญ่ๆ ด้วยกัน โดยจะมีความแตกต่างตามวิธีการวัดปริมาณอากาศที่บรรจุเข้ากระบอกสูบคือ

1 ระบบฉีดน้ำมันเชื้อเพลิงอิเล็กทรอนิกส์ แบบ D-Jetronic หรือเรียกว่า ระบบ EFI แบบ D

รูปที่ 1.37 ระบบฉีดน้ำมันเชื้อเพลิงอิเล็กทรอนิกส์ (D-Jetronic)

หลักการทำงาน 

    ขณะเครื่องยนต์มีความเร็วรอบต่ำ  ลิ้นเร่งจะเปิดให้อากาศไหลผ่านเข้ากระบอกสูบน้อย ความดันของอากาศในท่อร่วมไอดีจะต่ำ (เป็นสุญญากาศมาก) ตัวตรวจจับสุญญากาศ (Vacuum sensor) จะส่งสัญญาณไฟฟ้าที่สัมพันธ์กับแรงดันอากาศในท่อร่วมไอดีขณะนั้น ป้อนเข้าคอมพิวเตอร์ให้กำหนดระยะเวลาในการฉีดน้ำมันเชื้อเพลิงน้อย และในทางตรงกันข้าม หากลิ้นเร่งเปิดให้อากาศไหลผ่านเข้ากระบอกสูบมาก (ขณะเร่งเครื่องยนต์) ความดันของอากาศในท่อร่วมไอดีจะสูงขึ้น (เป็นสุญญากาศน้อย) ตัวตรวจจับสุญญากาศจะส่งสัญญาณไฟฟ้าป้อนเข้าคอมพิวเตอร์ให้กำหนดระยะเวลาในการฉีดน้ำมันเชื้อเพลิงมากขึ้น

2 ระบบฉีดน้ำมันเชื้อเพลิงอิเล็กทรอนิกส์ แบบ L- Jectronic หรือเรียกว่า ระบบ EFI แบบ L

  เป็นระบบที่พัฒนามาจากระบบ EFI แบบ D- Jectronic ซึ่งจะมีการวัดปริมาณอากาศที่ไหลเข้ากระบอกสูบจากแรงดันในท่อร่วมไอดี แต่เนื่องจากปริมาตรกับแรงดันของอากาศมีสัดส่วนแปรผันไม่คงที่แน่นอน กล่าวคือ ปริมาตรของอากาศไม่แปรผันตรงกับแรงดัน ทำให้การวัดปริมาณอากาศจะได้ค่าที่แรงดันที่ไม่เที่ยงตรง จึงเป็นเหตุให้การฉีดน้ำมันเชื้อเพลิงนั้นขาดความเที่ยงตรงไปด้วย จากเหตุผลดังกล่าว ในระบบ EFI แบบ L จะทำการวัดปริมาณอากาศโดยใช้มาตรวัดการไหลของอากาศ (Air flow meter) เป็นตัวตรวจจับปริมาณอากาศที่ถูกดูดเข้ากระบอกสูบ แล้วเปลี่ยนเป็นสัญญาณไฟฟ้าป้อนเข้าคอมพิวเตอร์ เพื่อกำหนดระยะเวลาในการฉีดน้ำมันเชื้อเพลิงที่เหมาะสม
                                                                                      
                                                                           รูปที่ 1.38 ระบบฉีดน้ำมันเชื้อเพลิงอิเล็กทรอนิกส์ (L-Jetronic)อ่านเพิ่มเติม

วันพุธที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2556

ชนิดของระบบฉีดน้ำมันเชื้อเพลิง

ชนิดของระบบฉีดน้ำมันเชื้อเพลิง

   ระบบฉีดน้ำมันเชื้อเพลิงที่นำมาใช้ในรถยนต์นั่งทั่ว ๆ ไป  ในปัจจุบันจะมีอยู่ด้วยกัน2 แบบใหญ่ๆ ด้วยกัน โดยจะมีความแตกต่างตามวิธีการวัดปริมาณอากาศที่บรรจุเข้ากระบอกสูบคือ

             1 ระบบฉีดน้ำมันเชื้อเพลิงอิเล็กทรอนิกส์ แบบ D-Jetronic หรือเรียกว่า ระบบ EFI แบบ D
     อย่าวางเครื่องที่เป็นโลหะบนหม้อแบตเตอรี่  จะทำให้เกิดการลัดวงจร  ขั้วแบตเตอรี่จะชำรุดเสียหายได้
1.    การติดตั้งแบตเตอรี่ต้องติดตั้งกับแท่นยึดที่แข็งแรงและแน่น  ไม่สั่นสะเทือนมากใน
ขณะปฏิบัติงานสะดวกต่อการบริการ  ไกลจากความชื้น  และอุณหภูมิไม่สูงเกินไป
2.    ในการเคลื่อนย้ายแบตเตอรี่ให้ใช้วิธียก   อย่าลากหรือดึง  หรือปล่อยลงกระแทกพื้น
แรง ๆ เพราะอาจจะทำให้เปลือกหม้อแบตเตอรี่ทะลุได้
3.    แบตเตอรี่ใหม่หลังจากเติมน้ำยาแล้วจะเกิดกระแสไปขึ้นเอง  ทางด้านเทคนิคห้ามไม่
ให้นำไปใช้งาน  เพราะจะทำให้อายุการใช้งานของแบตเตอรี่สั้นหรือเสื่อมสภาพเร็วผิดปกติ  จะต้องนำไปชาร์ทไฟเสียก่อนด้วยกระแสไฟอัตราไม่เกิน  2 – 3  แอมแปร์  ประมาณ  72  ชั่วโมง  แล้วจึงนำไปใช้งานก็จะทำให้ได้แบตเตอรี่ที่มีประสิทธิภาพสูงสุด
4.    แบตเตอรี่จะมีอายุการใช้งานและมีประสิทธิภาพดีที่สุด  แบตเตอรี่นั้นจะต้องได้รับการ
ประจุหรือชาร์ทไฟเต็ม  (Full  charge)  อยู่ตลอดเวลา
5.    แบตเตอรี่ทั่วไปมีอายุการใช้งานระหว่าง  6  เดือน  ถึง  2  ปี  ซึ่งขึ้นอยู่กับการใช้และ
บำรุงรักษาที่ถูกวิธี  ถ้าบำรุงรักษาไม่ถูกวิธีจะมีอายุการใช้งานต่ำกว่า  6  เดือน  หรือถ้าใช้และบำรุงรักษาให้ถูกวิธีอายุการใช้งานจะได้ไม่น้อยกว่า  2  ปี  จะเห็นได้ว่าการใช้และบำรุงรักษาแบตเตอรี่ให้ถูกวิธี  อายุการใช้งานจะต่างกันหลายเท่าตัว

หน่วยการเรียนที่ 1 พื้นฐานทางอิเล็กทรอนิกส์และหลักการโครงสร้างของระบบฉีดเชื้อเพลิง แก๊สโซลีนควบคุมด้วยอิเล็กทรอนิกส์

เพิ่มเติมเนื้อหา


1.2.5 ข้อดีของระบบฉีดน้ำมันเชื้อเพลิงแก๊สโซลีน (Advantage of Gasoline Injection System)
  1. ให้กำลังสูงกว่า  ที่ความจุเท่ากัน
  2. ให้แรงบิดสูงกว่า  ที่รอบเครื่องยนต์ต่ำกว่า
  3. ประหยัดเชื้อเพลิงกว่า
  4. เผาไหม้ได้สมบูรณ์กว่า  จึงเป็นการลดมลพิษ
  5. การเผาไหม้แต่ละสูบสมดุลกันมากกว่า
  6. ติดเครื่องยนต์เมื่ออากาศเย็นได้ง่ายกว่า
  7. ใช้เวลาในการอุ่นเครื่องน้อยกว่า
  8. ไม่จำเป็นต้องมีการอุ่นท่อร่วมไอดี
  9. อุณหภูมิของอากาศที่เข้ามาต่ำกว่า
  10. มีอัตราเร่งดีกว่า
         ข้อดีดังกล่าวนี้ รถยนต์ปัจจุบันที่ทันสมัยราคาแพง จึงใช้ระบบฉีดเชื้อเพลิงแทนคาร์บูเรเตอร์มากขึ้นเรื่อยๆ
1.2.6 หลักการเบื้องต้นระบบฉีดน้ำมันเชื้อเพลิงอิเล็กทรอนิกส์
ระบบฉีดน้ำมันเชื้อเพลิงอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic fuel injection System) หรือเรียกว่า ระบบ EFI เป็นระบบการจ่ายน้ำมันเชื้อเพลิงให้กับเครื่องยนต์ โดยใช้หัวฉีดที่มีการควบคุมการทำงานด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ หรือคอมพิวเตอร์
1.2.6.1 หลักการเบื้องต้น
น้ำมันเชื้อเพลิงจากถังจะถูกส่งผ่านกรองน้ำมัน ไปยังหัวฉีดซึ่งตดตั้งไว้ที่ท่อไอดีของแต่ละสูบ โดยใช้ปั้มไฟฟ้า ดังรูป 1.45 เมื่อสัญญาณไฟฟ้าจากคอมพิวเตอร์ป้อนเข้าหัวฉีด น้ำมันเชื้อเพลิงที่มีความดันประมาณ 2.5 บาร์ (bar) จะถูกฉีดเข้าไปผสมกับอากาศในท่อไอดี แล้วถูกดูดเข้ากระบอกสูบของเครื่องยนต์ สำหรับปริมาณน้ำมันที่ถูกฉีดออกมาจะมากหรือน้อย จะขึ้นอยู่กับระยะเวลาในการป้อนไฟฟ้าเข้าหัวฉีด กล่าวคือ ถ้ามีสัญญาณไฟฟ้าป้อนเข้าหัวฉีกนาน ปริมาณน้ำมันเชื้อเพลิงจะถูกฉีดออกมามาก









วันพฤหัสบดีที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2556

เนื้อหาเพิ่มเติม

 อัตราส่วนผสมของอากาศและน้ำมันเชื้อเพลิง

       อัตราส่วนผสมของอากาศและน้ำมันเชื้อเพลิง ที่ใช้กับเครื่องยนต์ จะประกอบด้วย
ส่วนผสม 3 แบบ คือ

.อัตราส่วนผสมของอากาศและน้ำมันเชื้อเพลิงตามทฤษฎี (theoretical air-fuel ratio)

รูปที่ 1.34 แสดงอัตราส่วนผสมของอากาศและน้ำมันเชื้อเพลิง

 วิธีการผสมอากาศกับน้ำมันเชื้อเพลิง (Air-Fuel Mixing Method)

สำหรับเครื่องยนต์แก๊สโซลีน  จะมีวิธีการใหญ่ ๆ อยู่ 2 วิธี คือ
  1. โดยระบบคาร์บูเรเตอร์ (Carburetors System)
  2. โดยระบบฉีดเชื้อเพลิง (Injection System)
ทั้ง 2 แบบต่างก็มีข้อดีข้อเสีย  กล่าวคือ  คาร์บูเรเตอร์เดิมเป็นแบบง่าย ๆ แต่ต่อมาประเทศต่าง ๆ ทางยุโรปและอเมริกา  มีการออกกฎหมายควบคุมมลพิษของไอเสียอย่างเข้มงวดกวดขัน  จากคาร์บูเรเตอร์ง่าย ๆ จึงจำเป็นต้องเพิ่มอุปกรณ์ช่วยต่าง ๆ เข้าไป  ทำให้ยุ่งยากซับซ้อนมากขึ้น  และอุปกรณ์บางส่วนก็เป็นกลไก  ทำให้เกิดความล่าช้าในการทำงานรถยนต์ราคาแพง ๆ ที่ใช้เครื่องยนต์ประเภทสมรรถนะสูง (High Performance) จึงหันมาใช้ระบบฉีดแทนคาร์บูเรเตอร์เพราะระบบฉีดเชื้อเพลิง  การเผาไหม้จะสะอาดหมดจดกว่า  จึงยังไม่เป็นที่คุ้นเคย  ดังนั้นการที่จะให้เป็นที่นิยมและยอมรับอย่างกว้างขวางเช่นเดียวกับระบบคาร์บูเรเตอร์  คงต้องใช้เวลา  และคงจะมีใช้อยู่ทั้งสองระบบ  ควบคู่กันไป  เช่นเดียวกันกับระบบจุดระเบิดแบบธรรมดาและระบบจุดระเบิดแบบทรานซิสเตอร์



ปัญหาที่สำคัญอีกประการหนึ่ง  ของระบบคาร์บูเรเตอร์  ก็คือ แต่ละสูบจะได้รับส่วนผสมไม่เท่ากัน เนื่องจากเชื้อเพลิงหนักกว่าอากาศ  มันจึงไหลต่อไปจนสุดท่อร่วมไอดี แล้วจับตัวเป็นหยดน้ำมันทำให้สูบสุดท้ายส่วนผสมหนา  แต่สูบที่อยู่ใกล้คาร์บูเรเตอร์ส่วนผสมบาง
อ้างอิงจาก  ภาควิชาคุรุศาสตร์เครื่องกลคณะคุรุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
http://mte.kmutt.ac.th/elearning/Electronic_Fuel_Injection_System/unit1-2.htmlเพิ่มเติมเพิ่มเติม